วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558

บทความที่ 1



The Air Force One




แอร์ฟอร์ซวันคืออะไร
แอร์ฟอร์ซวัน (อังกฤษ: Air Force One) เป็นรหัสเรียกขานโดยศูนย์ควบคุมการจราจรทางอากาศ หรือ (Air Traffic Control; ATC) ของเครื่องบินทุกลำที่มีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา โดยสารอยู่บนเครื่องบินลำนั้นเครื่องบินจะมีการเรียกชื่อว่า แอร์ฟอร์ซวัน ขณะที่มีประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกาอยู่บนเครื่องเท่านั้น แอร์ฟอร์ซ วันเป็นสัญลักษณ์แสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจและตำแหน่งประธานาธิบดีในปี ค.ศ. 1990 สำนักงานเลขานุการประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา ได้จัดหาเครื่องบิน โบอิง 747-200บี รหัสที่หางเครื่อง คือ 28000 และ 29000 โดยมีชื่อว่า วีซี-25เอ (VC-25A) โดยเครื่องบิน 2 ลำนี้จะสงวนไว้ใช้กับประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
ประวัติความเป็นมาของแอร์ฟอร์ซวัน
 เมื่อทีโอดอร์ รูสเวลต์ ได้ก้าวเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา และได้นั่งเครื่องบินเป็นครั้งแรกในวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2453 ในเวลานั้นเอง เขาไม่มีห้องทำงานบนเครื่องแต่ วิลเลียม เอช. ทัฟท์ (William Howard Taft) ได้จัดเตรียมห้องทำงานบนเครื่องตอนที่เขาขึ้นรับตำแหน่ง ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การเดินทางไปไหนมาไหนของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกานั้นมีความสำคัญและมีค่ามากที่สุด ระบบการสื่อสารไร้สายและการขนส่งที่รวดเร็วในระยะทางอันยาวไกลของการเดินทางของประธานาธิบดีนั้นเป็นเรื่องที่ขาดไม่ได้ และระบบเหล่านั้นสามารถทำหน้าที่แทน ทำเนียบขาว ได้เมื่อประธานาธิบดีเดินทางไปที่ต่าง ๆ ทั่วทุกมุมโลกประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้โดยสารเครื่องบินซึ่งมีห้องทำงานบนเครื่องด้วยคือ แฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ โดยสายการบิน แพน-แอม (Pan-AM) โบอิง 314
ชื่อเครื่องบินที่ตั้งขึ้นเพื่อตำแหน่งของประธานาธิบดีชื่อแรกคือ ซี-87เอ วีไอพี ทรานสปอร์ต แอร์คราฟ (C-87A VIP transport aircraft) โดยมีเลขทะเบียนเครื่อง คือ 41-24159 และได้เปลี่ยนชื่อใหม่ในปี ค.ศ.1943 เพื่อใช้กัตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ชื่อ วีไอพี ทรานสปอร์ต (VIP Transport) และชื่อ เกรสส์ แวร์ ทู (Guess Where II) ได้จัดเตรียมไว้สำหรับ ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เดลาโน โรสเวลต์ ในการเดินทางออกนอกประเทศ อย่างไรก็ตามหลังจากตรวจสอบเรื่องระบบรักษาความปลอดภัย ของเครื่องบิน ซี-87 หน่วยงาน United States Secret Service หรือ (U.S.S.S.) ได้ลงความเห็นว่า เครื่องบินรุ่นดังกล่าวไม่มีความปลอดภัยในการรับส่งประธานาธิบดีอีกต่อไป
หน่วยงาน U.S.S.S. ได้ให้เครื่องบิน ดักลาส ซี-54 สกายมาสเตอร์ (Douglas C-54 Skymaster) เข้ามารับผิดชอบรับส่งประธานาธิบดี โดยเครื่องบินลำนี้มีชื่อเล่นว่า Sacred Cow) ภายในเครื่องบินลำนี้ประกอบด้วย ห้องนอน ,เครื่องรับส่งวิทยุสื่อสาร และพัฒนาสำหรับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐอมเริกาโดยเฉพาะ เพื่อใช้งานในภารกิจต่าง ๆ
หลังจากประธานาธิบดีโรสเวลต์เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1945 แฮร์รี เอส. ทรูแมน ก็ได้เข้ารับตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีคนที่ 33 ของสหรัฐอเมริกา และในปี ค.ศ.1947 เขาได้เปลี่ยนเครื่องจาก ซี-54 เป็น ซี-118 เลิฟท์มาสเตอร์ (C-118 Liftmaster) โดยให้รหัสเรียกขานว่า อินดิเพนเดนซ์ (Independence) โดยตั้งชื่อตามบ้านเกิดของทรูแมน ซึ่งเกิดที่เมือง อินดิเพนเดนซ์ รัฐมิสซูรี (Independence, Missouri) ซึ่งเป็นเครื่องบินลำแรกที่รักษาการแทนเครื่อง แอร์ฟอร์ซวัน และได้ลงลายนกอินทรีใหญ่หัวสีขาวซึ่งเป็นนกประจำชาติของอเมริกา บนหัวของเครื่องบินลำนี้ด้วย
ในขณะที่ ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ (Dwight D. Eisenhower) ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีสหรัฐ เพื่อความปลอดภัยของตำแหน่งประธานาธิบดีจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อเรียกใหม่จาก 1953 เป็น 8610 ซึ่งเป็นของสายการบินอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (Eastern Air Lines) จึงมีชื่อเรียกเป็น แอร์ฟอร์ซ 8610 (Air Force 8610) และหลังจากนั้นได้ไม่นาน เครื่องบินที่มีประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโดยสารอยู่นั้นก็ได้เปลี่ยนชื่อเรียกใหม่เป็น แอร์ฟอร์ซวัน (Air Force One) และชื่อเรียกนี้ก็ใช้กันจนถึงปัจจุบัน
ไอเซนฮาวร์ ได้เพิ่มในส่วนของเครื่องยนต์ใบพัด 4 เครื่องให้เครื่องบินรุ่น Lockheed C-121 Constellations และเปลี่ยนชื่อเครื่องบินใหม่เป็น Columbine II และ Columbine III โดยภรริยาของไอเซนฮาวร์ ชื่อMamie Eisenhower ประธานาธิบดี ไอเซนฮาวร์ ได้เพิ่มเทคโนโลยีใหม่ ๆ ลงในเครื่องบิน เช่น โทรศัพท์ เพื่อใช้ติดต่อกันระหว่างเครื่องบินและภาคพื้น , เครื่องรับส่งโทรเลข เป็นต้น และก่อนที่ ไอเซนฮาวร์ จะหมดวาระลงในปี 1958 เขายังได้นำเครื่องบิน โบอิง 707 เครื่องยนต์เจ็ตเข้าประจำการเป็น แอร์ฟอร์ซ ด้วยกันถึง 3 ลำ โดยใช้รุ่น วีซี-138เอส และได้รับการแต่งตั้งชื่อเป็น แซม970, แซม971 และแซม 972 (VC-137s designated SAM 970, 971, and 972) ไอเซนฮาวร์ ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้ง และเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้ใช้เครื่อง วีซี-137(VC-137)โดยเที่ยวบิน Flight to Peace ใช้เวลาในการเดินทางนานถึง 19 วัน ในระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม ถึง 22 ธันวาคม 1959 และได้ไปเยี่ยมประเทศในภูมิภาคเอเชียนถึง 11 ประเทศ ใช้ระยะทาง 22,000 ไมล์ หรือ 35,000 กิโลเมตร



               ในปัจจุบันได้มีแอร์ฟอร์ซวันลำไหม่แล้วโดยอยู่ในสมัยประธานาธิบดีโอบาม่าโดยมีชื่อว่าเพนตากอน ประกาศเลือกโบอิ้ง 747-8 เป็นเครื่องบินโดยสารลำใหม่ที่จะมาทำหน้าที่ 'แอร์ฟอร์ซวัน' ของ ปธน.สหรัฐฯ ด้วยเหตุผล คือ เป็นแบบเดียวที่ทำในสหรัฐอเมริกา และมีคุณสมบัติตรงกับที่ต้องการ
เมื่อวันที่ 28 ม.ค.2558 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หรือเพนตากอน ได้ประกาศผลการคัดเลือกให้ โบอิ้ง 747-8 ได้เป็นเครื่องบินโดยสารลำใหม่ของประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพื่อทดแทนในฝูงบินของประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปัจจุบัน ที่มีเครื่องบิน VC-25 ประจำการ 2 ลำ โดยเป็นเครื่องบินโบอิ้ง 747-200 ที่ดัดแปลงมาเป็นพิเศษ และมีชื่อรหัสที่รู้จักกันดีนั่นคือ 'แอร์ฟอร์ซวัน' (Air Force One) แต่บางครั้งก็มีลำอื่นที่ถูกเรียกว่า แอร์ฟอร์ซวัน ตามการโดยสารของ ปธน.โดยกองทัพอากาศสหรัฐฯ มีแผนจะปลดประจำการ VC-25 ในปี 2017 และจะมีการคัดสรรเครื่องบินรุ่นใหม่มาทดแทนเครื่องเก่าที่ใช้งานมาตั้งแต่ทศวรรษที่ 90
ข่าวการจัดหาแอร์ฟอร์ซวันลำใหม่ มีมานานพักใหญ่และคนในวงการเครื่องบินทั่วโลกต่างมุ่งไปที่ 2 ตัวเก็งที่เป็นเครื่องบินโดยสารขนาดใหญ่ 4 เครื่องยนต์ ที่มีสมรรถนะสูง พิสัยการบินไกล และมีลำตัวกว้างขวาง ได้แก่ โบอิ้ง 747-8 และ แอร์บัส เอ380-800 ที่ทั้งคู่ต่างมีคุณสมบัติที่ตรงตามความต้องการพื้นฐาน
เครื่องบินตระกูลจัมโบ้เจ็ตรุ่นล่าสุดของโบอิ้ง
เดโบร่าห์ ลี เจมส์ เลขาธิการกองทัพอากาศสหรัฐฯ กล่าวว่า เครื่องบินของประธานาธิบดีสหรัฐฯ คือ 1 ในเอกลักษณ์เห็นแล้วคือสัญลักษณ์ของสหรัฐอเมริกา และยังเป็นที่ทำงานของประธานาธิบดีสหรัฐฯ โบอิ้ง 747-8 เป็นเครื่องบินรุ่นเดียวที่สร้างและประกอบในแผ่นดินสหรัฐอเมริกา ที่มีคุณสมบัติตรงตามความต้องการ เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติภารกิจ ปธน.สหรัฐฯ ในฐานที่ทำงานของประธานาธิบดี สอดคล้องกับผลประโยชน์ของประชาชนในระดับชาติทั้งนี้ โบอิ้ง 747-8 แอร์ฟอร์ซวัน จะมีความแตกต่างไปจากเครื่องบิน 747-8 เดิมที่ใช้ในสายการบินพาณิชย์อย่างมาก ถึงเวลาแล้วที่เครื่องบินของปธน.สหรัฐฯ จะถูกอัพเกรดความล้าสมัยทำให้แหล่งหาอะไหล่เหลือน้อย และยังต้องการการบำรุงรักษามากขึ้น กลายเป็นความท้าทายการเตรียมความพร้อมปฏิบัติงานที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าที่เครื่องบินลำใหม่จะเข้าประจำการ เมื่อกองทัพอากาศต้องให้บริการประธานาธิบดี การเดินทางอากาศที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้ในระดับสูง รวมทั้งมีขีดความสามารถในการสื่อสาร ที่สามารถทำงานได้เหมือนทำเนียบ

เครื่องบินลำใหม่จะมีอายุการใช้งานราวๆ 30 ปี โดยทางรัฐบาลจะทำสัญญาสั่งซื้อและให้โบอิ้งสร้างเครื่องบินและดัดแปลงให้กลายเป็นแอร์ฟอร์ซวัน ภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2015-2019 สำหรับเครื่องบิน 2 ลำ ราวๆ 1.65 พันล้าน ทั้งนี้ แม้ว่ากองทัพอากาศสหรัฐฯ จะพิจารณาแอร์บัส เอ380 เป็นตัวเลือก แต่การที่เครื่องบินที่ใช้อยู่เป็นโบอิ้ง ผลที่ออกมาจึงไม่น่าแปลกใจประธานาธิบดีสหรัฐฯ ที่โดยสารเครื่องบินระหว่างการดำรงตำแหน่งเป็นคนแรก คือ ธีโอดอร์ รูสเวลล์ และเมื่อปี ค.ศ.1910 เขายังเคยบินกับเครื่องบินต้นแบบยุคแรกของพี่น้องตระกูลไรท์มาแล้วแอร์ฟอร์ซวันลำก่อนหน้า เป็น ซี-137 ใช้ในช่วงทศวรรษที่ 60-90แอร์ฟอร์ซวัน ที่เป็นเครื่องบินเจ็ตไอพ่น สร้างมาจากแบบแผนของเครื่องบินโดยสาร โบอิ้ง 707 หรือ ซี-137 สตราโตไลน์เนอร์ ในแบบทางทหารในยุค 1960 โดยมีชื่อเสียงจากการเดินทางไปต่างประเทศของ อดีต ปธน.จอห์น เอฟ.เคเนดี้โบอิ้ง 747-200 หรือ VC-25 ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ถูกเสนอสั่งซื้อสมัยอดีต ปธน.โรนัลด์ เรแกน โดยนางแนนซี่ เรแกน อดีตสุภาพตรีหมายเลข 1 เป็นผู้ออกแบบการตกแต่งภายใน แต่การสร้างล่าช้าจึงเสร็จไม่ทันใช้ทันในสมัยของเรแกน เพราะคนที่ได้ใช้ VC-25 เป็นคนแรก คือ อดีต ปธน.จอร์จ ดับเบิลยู บุช 



อ้างอิง
http://www.geocities.ws/aircav1st/avnlink_files/Air.htm
http://mcot-web.mcot.net/lively/content.php?id=50aa09ee150ba0ec01000017
http://mcot-web.mcot.net/lively/content.php?id=50aa09ee150ba0ec01000017
http://www.thairath.co.th/content/477809
http://www.thairath.co.th/content/477809





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น