บทความที่
3 การทำสมาธิ
หลักการทำสมาธิเบื้องต้น
จิตของคนทั่วๆ ไปที่ไม่เคยทำสมาธินั้น
ก็มักจะมีสภาพเหมือนม้าป่าพยศที่ยังไม่เคยถูกจับมาฝึกให้เชื่อง
มีการซัดส่ายไปในทิศทางต่างๆ อยู่เป็นประจำ
การทำสมาธินั้นก็เหมือนการจับม้าป่านั้นมาล่ามเชือก หรือใส่ไว้ในคอกเล็กๆ
ไม่ยอมให้มีอิสระตามความเคยชิน เมื่อตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ ม้านั้นก็ย่อมจะแสดงอาการพยศออกมา
มีอาการดิ้นรน กวัดแกว่ง ไม่สามารถอยู่อย่างนิ่งสงบได้ ถ้ายิ่งพยายามบังคับ
ควบคุมมากขึ้นเท่าไหร่
ก็จะยิ่งดิ้นรนมากขึ้นเท่านั้นการจะฝึกม้าป่าให้เชื่องโดยไม่เหนื่อยมากนั้นต้องใจเย็นๆ
โดยเริ่มจากการใส่ไว้ในคอกใหญ่ๆ แล้วปล่อยให้เคยชินกับคอกขนาดนั้นก่อน
จากนั้นจึงค่อยๆ ลดขนาดของคอกลงเรื่อยๆ ม้านั้นก็จะเชื่องขึ้นเรื่อยๆ
โดยไม่แสดงอาการพยศอย่างรุนแรงเหมือนการพยายามบีบบังคับอย่างรีบร้อน
เมื่อม้าเชื่องมากพอแล้ว
ก็จะสามารถใส่บังเหียนแล้วนำไปฝึกได้โดยง่ายการฝึกจิตก็เช่นกัน ถ้าใจร้อนคิดจะให้เกิดสมาธิอย่างรวดเร็วทั้งที่จิตยังไม่เชื่อง
จิตจะดิ้นรนมาก และเมื่อพยายามบีบจิตให้นิ่งมากขึ้นเท่าไหร่
จิตจะยิ่งเกิดอาการเกร็งมากขึ้นเท่านั้น
ซึ่งนั่นจะหมายถึงความกระด้างของจิตที่เพิ่มขึ้น (จิตที่เกร็งจะเป็นจิตที่กระด้าง
ซึ่งต่างจากจิตที่ผ่อนคลายจะเป็นจิตที่ประณีตกว่า) แล้วยังจะทำให้เหนื่อยอีกด้วย
ถึงแม้บางครั้งอาจจะบังคับจิตไม่ให้ซัดส่ายได้
แต่ถ้าสังเกตให้ดีจะเห็นว่าจิตมีอาการสั่น
กระเพื่อมอยู่ภายในเหมือนการหัดขี่จักรยานใหม่ๆ ถึงแม้จะเริ่มทรงตัวได้แล้ว
แต่ก็ขี่ไปด้วยอาการเกร็ง การขี่ในขณะนั้นนอกจากจะเหนื่อยแล้ว
การทรงตัวก็ยังไม่นิ่มนวลราบเรียบอีกด้วย
ซึ่งจะต่างกันมากเมื่อเปรียบเทียบกับการขับขี่ของคนที่ชำนาญแล้ว
ที่จะสามารถขี่ไปได้ด้วยความรู้สึกที่ผ่อนคลายอย่างสบายๆ ราบเรียบ นุ่มนวล
ไม่มีอาการสั่นเกร็ง
การทำสมาธิแบบพระพุทธเจ้า
การทำสมาธิของคนส่วนใหญ่ประสบกับความล้มเหลวหรือก่อให้เกิดความรู้สึกเป็นลบกับการทำสมาธิเพราะขาดแนวทางที่ถูกต้องหรือมองแนวทางที่ถูกต้องแบบผิดๆซึ่งก็หมายความว่ายิ่งทำสมาธิเท่าไรใจก็ยิ่งแกว่ง
หรือห่างไกลจากสมาธิที่ถูกที่ชอบมากขึ้นเท่านั้นความเข้าใจขั้นพื้นฐานจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งยวดถ้าขาดความเข้าใจแล้วกระโดดไปพยายามทำสมาธิเลยเกือบร้อยทั้งร้อยจะพยายามเพ่งจับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแน่นเกินไปหรือไม่ก็จ้องบังคับความคิดของตัวเองให้ดับไปดื้อๆการทำสมาธินั้น
ทุกคนหวังจะได้ผลเป็นความสุขสงบพูดง่ายๆ
สมาธิคือการเปลี่ยนอึดอัดเป็นสบายแต่หลายคนทำสมาธิแล้วเปลี่ยนสบายเป็นอึดอัดแล้วจะไปชอบใจหรือเห็นค่าของสมาธิได้อย่างไรกัน?เพื่อจะมองเห็นทั้งเป้าหมายของสมาธิแบบที่พระพุทธเจ้าสอนตลอดจนทราบขั้นตอนของความสำเร็จอย่างชัดเจนก็ขอให้ทำความเข้าใจผ่านข้อสงสัยในหมู่นักเจริญสติที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด
และก่อให้เกิดความละล้าละลังที่สุด
ในการหัดทำสมาธินั้นมีอยู่
๒ อย่างคือ หัดทำสมาธิเพื่อแก้อารมณ์และกิเลสของใจที่เกิดขึ้นในปัจจุบันอย่างหนึ่ง
อีกอย่างหนึ่งก็เพื่อฝึกใจให้มีพลังของสมาธิมากขึ้น
อย่างแรกนั้นก็คือว่า
อารมณ์และกิเลสของใจในปัจจุบันนั้น บางคราวก็เป็นอารมณ์รัก เป็นความรักซึ่งจะชักใจให้กระสับกระส่ายเสียสมาธิ
เมื่อเป็นดั่งนี้ก็ต้องหัดสงบใจจากอารมณ์รัก จากความรักชอบนั้น
ซึ่งเป็นอันตรายต่อการศึกษา ต่อการงานที่พึงทำ ตลอดจนถึงต่อกฎหมาย ต่อศีลธรรม
นี่เป็นวิธีหนึ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอน
คือต้องหัดเอาชนะใจให้สงบจากอารมณ์ดังนั้นให้ได้
ประการที่ ๒
หัดทำสมาธิเพื่อให้เกิดพลังใจที่ตั้งมั่นมากขึ้น คือให้มีพลังขึ้น
ก็เหมือนการออกกำลังกายเพื่อให้กายมีกำลังเรี่ยวแรง เมื่อหัดออกกำลังอยู่บ่อยๆ
กำลังร่างกายก็จะดีขึ้น จิตใจก็เหมือนกัน เมื่อหัดทำสมาธิอยู่บ่อยๆ แล้ว
โดยที่ปฏิบัติอยู่ในหลักของสมาธิข้อใดข้อหนึ่งเป็นประจำ
สำหรับที่จะหัดใจให้มีพลังของสมาธิเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้พลังของสมาธินี้มากขึ้นได้
เช่นเดียวกับการออกกำลังกายทำให้พลังทางกายเพิ่มมากขึ้นได้ นี้คือสมาธิในการฝึกหัด
10
วิธีฝึกสมาธิง่าย ๆ
1.
จัดท่าทางให้ถูกต้อง
จริงอยู่ว่าใคร ๆ ก็นั่งขัดสมาธิ
เพื่อนั่งสมาธิได้ แต่การนั่งที่ถูกต้อง คือ คุณต้องแน่ใจว่าคุณนั่งตัวตรง หัวตรง
นั่นเพราะร่างกายของเราสัมพันธ์กับจิตใจค่ะ หากคุณนั่งตัวงอแล้วละก็
จิตใจของคุณก็จะล่องลอยไป ไม่อยู่กับเนื้อกับตัวนะคะ แต่ไม่ต้องนั่งเกร็งมาก
ให้นั่งเหมือนเรากำลังผ่อนคลายดีที่สุด
2. เปิดตานั่งสมาธิ
บางครั้งการนั่งสมาธิ
ไม่จำเป็นต้องหลับตาเสมอไป คุณสามารถเปิดตาไว้ แต่ปรับระดับสายตาให้มองต่ำลง
โดยกำหนดจุดให้เพ่งรวบรวมสมาธิไว้ เพราะบางคนเมื่อปิดตาแล้วกลับรู้สึกฟุ้งซ่าน
ในหัวสมองเต็มไปด้วยเรื่องราวต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม
ก็ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าวิธีใดทำแล้วได้ผลมากกว่ากัน
3.
กำหนดรู้ลมหายใจ
การกำหนดลมหายใจเข้า-ออก
เป็นการกำหนดที่ตั้งของสติ เพื่อให้จิตเราอยู่กับสิ่งที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ไม่ฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น ๆ แต่เราไม่จำเป็นต้องไปบังคับการหายใจ แค่ปล่อยให้มันเป็นไปตามธรรมชาติ
4. นับลมหายใจเข้า-ออก
การนับลมหายใจเข้าออก
เป็นวิธีปฏิบัติสมาธิมาตั้งแต่โบราณ โดยเมื่อคุณหายใจออกก็ให้คุณเริ่มนับหนึ่งในใจ
ต่อไปก็เป็นสองสามสี่ตามลำดับ
แต่เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณรู้สึกว่าความคิดของคุณกำลังล่องลอยออกไปที่อื่น
ให้คุณกลับมาตั้งต้นนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง เพื่อให้คุณนำจิตกลับมาที่เดิม
5.
ควบคุมความคิดไม่ให้เข้ามารบกวน
เมื่อคุณรู้สึกว่าคุณกำลังมีความ
คิดเข้ามารบกวนจิตใจ ค่อย ๆ ขจัดความคิดเหล่านี้ออกไป
โดยหันมาสนใจกับการกำหนดลมหายใจ อย่าพยายามหยุดความคิดในทันที เพราะมันจะทำให้คุณฟุ้งซ่านและไม่สามารถกลับเข้าสู่สมาธิได้อีก
6.
กำจัดอารมณ์ให้หมดสิ้น
มันเป็นการยากที่จะนั่งสมาธิในขณะที่จิตของคุณเต็มไปด้วยอารมณ์
เพราะอารมณ์จะทำให้เกิดเรื่องราวต่าง ๆ ในจิตใจ โดยเฉพาะอารมณ์โกรธ กลัว เสียใจ
ซึ่งไม่ได้ทำให้คุณอยู่กับปัจจุบัน หรืออยู่กับสิ่งที่เป็นในตอนนี้เลย
ให้คุณจัดการกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นนี้โดยกำหนดลมหายใจไปที่ความรู้สึกของร่างกายที่ควบคุมอารมณ์ส่วนนั้น
เพราะจะทำให้คุณไม่คิดถึงเรื่องราวที่ทำให้คุณกลัว หรือโกรธอีก
แต่หันมาเพ่งกับสิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้แทน
7. ความเงียบบ่อเกิดแห่งความสงบ
การนั่งสมาธิควรจะนั่งในที่เงียบ ๆ
เพื่อทำจิตให้ว่าง ไม่ใส่ใจถึงบุคคล เสียง หรือสิ่งอื่นที่อยู่โดยรอบ
เพราะความเงียบจะนำมาซึ่งความสงบเยือกเย็น และความรู้สึกมั่นคง
เมื่อไหร่ก็ตามที่ความเงียบภายนอกและภายในประสานกันได้ คุณก็จะรู้สึกได้พักกายพักใจ
ผ่อนคลายจากความคิดที่รบกวนคุณอยู่ตลอดมา
8.
เวลาในการนั่งสมาธิ
เมื่อเริ่มต้นนั่งสมาธิใหม่ ๆ
คุณอาจจะลองนั่งก่อนประมาณสัก 10 นาที และจึงค่อย ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
จนรู้สึกว่าจิตคุณเริ่มนิ่งมากขึ้น
แต่อย่าบังคับตัวเองให้นั่งนานเกินไปหากคุณยังไม่พร้อม ทั้งนี้ ระยะเวลาที่เหมาะ
คือประมาณ 25 นาที
เพราะเป็นระยะเวลาที่ไม่ทำให้รู้สึกปวดเมื่อยร่างกายเกินไปจนรบกวนสมาธิได้
9.
สถานที่ในการนั่งสมาธิ
สถานที่และบรรยากาศก็ช่วยให้คุณทำสมาธิได้ดีขึ้น
ซึ่งการนั่งสมาธิในห้องพระจะช่วยให้จิตใจสงบและรู้สึกเป็นสมาธิมาก หรือคุณอาจจะวางสิ่งเล็ก
ๆ ที่คุณชอบ หรือช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายไว้รอบ ๆ ที่คุณนั่งสมาธิก็ได้
10. มีความสุขไปกับการนั่งสมาธิ
คนเราหากทำอะไรแล้วมีความสุข
เราก็จะทำมันได้ดี และรู้สึกอยากทำต่อไป ในการนั่งสมาธิก็เช่นกัน
หากคุณมีความสุขในการนั่งสมาธิ คุณก็จะรู้สึกผ่อนคลายสบายตัว และอยากจะทำต่อไป
จนสามารถทำเป็นกิจวัตรที่ทำทุกวันได้
การทำสมาธิที่ยากอีกระดังหนึ่ง
การทำสมาธิ ไม่ต้องคอยให้ใจสงบ
สามารถทำได้ทุกที่ ทุกเวลา แต่ถ้าต้องการความต่อเนื่องยาวนาน
และให้ได้ผลการปฏิบัติที่ดีนั้น มีหลักการเบื้องต้นและขั้นตอนดังนี้บริ
โภคน้ำอาหารมิให้อิ่มไป หิวไป
ถ่ายท้อง แปรงฟัน อาบน้ำ เช็ดตัว ให้เรียบร้อย เตรียมร่างกายให้สะอาด
นุ่งชุดที่ไม่คับตัว ผ้าเบาๆ สบายๆ
หามุมสงบ ไม่เสียงดัง ไม่อึกทึก
ไม่มีการรบกวนจากภายนอกได้ง่าย มีอุณหภูมิพอดี ๆ ที่นั่งที่รู้สึกสบายกับเรา เช่น
อายุมากเข่าไม่ดีอาจนั่งบนเก้าอี้ก็ได้
นั่งขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย
หรือวางมือตามสะดวกที่อื่นๆ จะเป็นที่หน้าตักก็ได้ บนเข่าก็ได้
ถ้าบนเข่าอาจหงายหรือคว่ำมือก็ได้
หลับตาเบาๆ ให้ขนตาชนกัน
แต่อย่าเม้มตา
ขยับท่าทางให้รู้สึกว่าสบาย สังเกตตัวเองว่ามีการเกร็งไหม
ถ้ามีขยับผ่อนคลายความรู้สึกไม่ให้เกร็ง
ทำใจให้โล่ง โปร่ง เบา สบาย
ปล่อยวางสิ่งต่างๆ ในใจ ละปริโพธ หรือความกังวลต่าง ๆ ชั่วคราว
อาจตั้งกำหนดเวลาในใจ ว่าจะอุทิศให้เวลาระหว่างนี้แก่การภาวนา
ทำใจให้มีความสุขเพราะแค่เราอยากมีความสุข จิตเราก็จะมีความสุขทันที
ทำใจให้สนุกกับการปฏิบัติธรรม
เมื่อสบายดีแล้ว ให้ภาวนาในใจ
จะใช้ความรู้สึกจับกับลมหายใจ หายใจเข้าสั้นก็รู้ หายใจออกสั้นก็รู้
หายใจเข้ายาวก็รู้ หายใจออกยาวก็รู้ โดยไม่ต้องใช้คำบริกรรมก็ได้
จะใช้คำบริกรรมว่า ว่า พุท เมื่อหายใจออกให้กำหนดว่า โธ ก็ได้
หรือจะใช้คำบริกรรมอื่นๆ เช่น นับ 1,2,3 .. ไปเรื่อยๆ เมื่อหายใจเข้าออกครั้งหนึ่ง
หรือ นะมะ-พะธะ ก็ได้เช่นกัน (วิธีการเหล่านี้ เป็นวิธีการของโบราณจารย์)
ในระหว่างการปฏิบัติธรรม
อาจจะมีเรื่องฟุ้งซ่านเข้ามาเป็นระยะ อย่าสนใจ ถ้าจิตวอกแวกจนสนใจเรื่องอื่น
เมื่อได้สติ ให้เริ่มภาวนาใหม่
อาจรู้สึกเมื่อย คัน ปวด ให้อดทน
ถ้าทนไม่ไหวให้เปลี่ยนอิริยาบถแก้ เช่นเกาที่คัน แต่ให้ทำอย่างมีสติ เช่น ภาวนาว่า
เมื่อยหนอๆ คันหนอๆ เกาหนอๆ ซึ่งถ้าจะลุกมาเดินจงกรมจนกว่าจะหายเวทนาก็ได้
เมื่อใจเริ่มสงบดีแล้ว จิตกำลังผ่านขณิกสมาธิ
กำลังย่างเข้าอุปจารสมาธิ อาจจะมีความรู้สึกแปลกๆ มีอาการต่างๆกันไปตามสภาวะจิต
ของแต่ละคน เช่นตัวหมุน ตัวเบา สั่น ขนลุกและอื่นๆ
ก็ให้วางเฉยไปตั้งใจภาวนาเรื่อยๆ
เมื่อจิตเป็นสมาธิมากขึ้น
คำภาวนาจะหายไป ให้กำหนดสภาวะที่รับรู้ได้เด่นชัดในจิต แล้วให้จิตไปจับไว้แทน เช่น
ลมหายใจ
เมื่อจิตมีสมาธิกล้าขึ้นจิตจะนิ่งสงบเหมือนผิวน้ำที่ไร้คลื่น
จิตจะกำหนดอะไรเป็นองค์ภาวนาไม่ได้ชั่วคราว
เราอาจจะตกใจว่าไม่มีอะไรให้กำหนดได้อาจหลุดจากสมาธิ ให้พิจารณาว่า
สภาวะที่กำหนดอะไรมิได้ เป็น ธรรมชาติ คือเป็นความจริงให้กำหนดความจริงนี้แทน
เมื่อทรงอารมณ์ไว้ได้อุคคหนิมิตจะเกิดขึ้น
เหมือนน้ำนิ่งจะเห็นก้นสระ จิตจะเห็นภาพสัญญาที่เก็บในภวังคจิต (จิตใต้สำนึก) คือ
อารมณ์ภาวนาที่กำหนดไว้ชัดขึ้นในจิต
เมื่อใจนิ่งได้ระดับนึง
จะเริ่มเห็นความสว่างจากภายใน เป็นการเห็นด้วยใจ ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
อันให้เกิดความเชื่อทางพุทธศาสนาต่างๆ เช่น เห็นสิ่งลี้ลับ กายทิพย์ต่างๆ
หรือมีภาพ ให้เห็นเป็นเรื่องราวต่างๆ เช่นในอดีต หรือชาติที่แล้วมา
หรือเหตุการณ์ในอนาคต ให้ทำใจเฉยๆอย่างเดียว หากมีข้อสงสัย หรือมีคำถาม
มีสิ่งผิดปกติอะไรก็ช่าง ก็ให้บอกตัวเองว่า คิดไปเอง
เพราะเราไม่อาจทราบได้ว่านิมิตรนั้นจริงเท็จเพียงใด จงอย่าสนใจให้ทำสมาธิต่อไป
เพราะแม้จะจริงก็จะทำให้เราล่าช้า ถ้าไม่จริงอาจทำเราเป็นมิจฉาทิฏฐิ หรือ
อาจเสียสติได้ ถ้าคุมจิตมิได้ก็ให้แผ่เมตตาแก่เจ้ากรรมนายเวร
เมื่อจิตเข้าสู่อัปปนาสมาธิจะเห็นปฏิภาคนิมิตร
แต่ถ้ากำหนดอานาปานสติ และวิปัสสนา จะเห็นขันธ์ 5 เกิดดับขึ้น
ให้ระวังวิปัสสนูปกิเลส ถ้าผ่านไปได้ก็จะทำลายวิปลาสต่างๆ และบรรลุฌาน
(ถ้าเน้นสมถกรรมฐาน) หรือญาน (ถ้าเน้นวิปัสสนา) ตามลำดับ
ข้อแนะนำ คือ
ต้องทำให้สม่ำเสมอเป็นประจำ ทำเรื่อยๆ อย่างสบายๆ ไม่เร่ง ไม่บังคับ
ทำได้แค่ไหนให้พอใจแค่นั้น ซึ่งเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดความอยากจนเกินไป
จนถึงกับทำให้ใจต้องสูญเสียความเป็นกลาง
อ้างอิง
- https://th.wikibooks.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%B4
- http://dungtrin.com/index.php? option=com_content&view=article&id=806:anapanasati&catid=88&Itemid=296
- https://sites.google.com/site/smartdhamma/sangaraj_basic_smardhi
- http://health.kapook.com/view26826.html
- http://www.dhammathai.org/treatment/concentration/concentrate02.php